ฝาหม้อน้ำเล็กๆแต่สำคัญมาก เครื่องพังเนื่องจากฝาหม้อน้ำกันมาเยอะแล้ว
เรื่องของระดับบาร์ของฝาหม้อน้ำที่เหมาะสม
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ “ น้ำจะเดือดช้าลงในแรงดันที่สูงกว่าบรรยากาศปกติ” (แรงดันบรรยากาศปกติเท่ากับ 1 บาร์ หรือ 14.506 Psi )
สรุปแรงดันยิ่งสูง ยิ่งทำให้น้ำเดือดช้า ฝาหม้อน้ำแรงดันสูง จะช่วยทำให้จุดเดือดของน้ำมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น อย่างเช่น
ถ้าคุณต้มน้ำบนพื้นดินปกติ น้ำจะเดือดที่ 100 องศาเซลเซียล แต่ถ้าคุณลองต้มน้ำบนภูเขาสูงมากๆ ที่มีแรงกดอากาศสูง
มันจะเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่านั้น นี่คือหลักการของฝาหม้อน้ำ ที่มีการกักเก็บแรงดันที่ต่างออกไป
ฝาหม้อน้ำแรงดันสูงมีประโยชน์ตรงไหน.....
ฝาหม้อน้ำแรงดันสูงมีประโยชน์สำหรับเครื่องยนต์โมดิฟาย และใช้รอบสูงๆพวกนี้ความร้อนเยอะ ทำให้น้ำเดือดช้าให้ได้มากที่สุด
แต่สำหรับรถเดิมๆ ไม่จำเป็นเท่าไหร่นักเพราะทางผู้ผลิตคำนวณมาแล้วว่าแค่ระดับมาตรฐาน
ฝาแรงดันขนาดนี้ก้อพอ แต่ถ้าจะเปลี่ยน เอาแค่เท่ห์ ก็ไม่ผิด นะครับ แต่แนะนำให้อ่านต่อให้จบนะครับ
มันมีผลดีกับผลเสียอยู่ เมื่อเราทำให้ฝาหม้อน้ำทนแรงดันได้เยอะขึ้น แรงดันภายในย่อมสูงขึ้นตามเช่นกัน
ทำให้เกิดภาระ ในระบบมากขึ้น พวกท่อยาง ท่อน้ำ หรือระบบหล่อเย็นต่างๆ ที่มี จะต้องรับภาระแรงดันที่สูงขึ้น
อย่างปกติผู้ผลิตจะใช้แค่ 0.9 -1.0 บาร์ เท่านั้น (แล้วแต่ผู้ผลิต) แต่ถ้าคุณไปใช้ฝาที่แรงดันสูงกว่านั้น
ก็ต้องพร้อมเสี่ยงต่อการเสียหาย แม้จะไม่ได้เสียหายโดยทันที แต่อายุการใช้งานมันจะลดลง
หรือบางคัน Over Spec มากๆก้อเกิดอาการ น้ำแตก ให้เห็นมากมาย
รถที่โมดิฟายมากๆใช้หม้อน้ำแรงดันสูง ส่วนใหญ่เค้าก้อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ อัพเกรด ตามไปด้วย
เช่น ท่อยางหม้อน้ำ แบบเกรดสูงๆ (พวกสีๆ ยี้ห้อแพงๆ )ที่ทนแรงดันได้เยอะ มันถึงจะทนแรงดันสูงได้โดยไม่ระเบิดซะก่อน
รถใหม่ๆ ของเดิมอาจจะทนได้ แต่ถ้าเริ่มเก่าก้อน่ากลัวเหมือนกัน หม้อน้ำเดิมเมื่อเริ่มเก่า จะกรอบ อาจจะทำให้ แตกรั่วง่าย
หากเจอแรงดันสูงมากเกินมากเกินปกติรถทีโมดิฟายเครื่องมา ก็มักจะเปลี่ยนหม้อน้ำไปเป็นหม้อน้ำอลูมิเนียม พวกนี้จะทนได้
แต่รถธรรมดาเดิม ก็ไม่จำเป็นครับ ถ้าอยากจะใช้ฝาหม้อน้ำแต่งก็ได้ครับ เข้าใจว่าอยากสวย แต่ขอให้ใช้ “ฝาที่มีค่าแรงดันตามสเป็กเดิมเครื่องยนต์เป็นหลัก”
หากรถเป็นรถเดิม ใช้สเป็กเท่าเดิมดีแล้วแน่นอนครับ
เรื่องของฝาปิดหม้อน้ำ ใครว่าเรื่องเล็ก
ฝาหม้อน้ำไม่ได้ทำงานเป็นแค่เพียงฝาปิดอย่างเดียว แต่มันยังรักษาระดับแรงดันและทำให้ระบบการหล่อเย็นของเครื่องยนต์คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ทำให้ฝาหม้อน้ำแตกต่างก็คือมันถูกออกแบบให้กักน้ำหล่อเย็นในระบบภายใต้แรงดันที่ถูกกำหนดระดับหนึ่ง ถ้าน้ำหล่อเย็นในระบบไม่ได้ถูกกักด้วยแรงดันแล้วมันก็จะเริ่มเดือดจนกระทั้งน้ำหล่อเย็นระเหยไปหมด อย่างไรก็ตามเจ้าฝาหม้อน้ำจะทำหน้าที่ป้องกันการเดือดของน้ำหล่อเย็นโดยการกักแรงดันเอาไว้เพื่อป้องกันการเดือด โดยปรกติแล้วน้ำหล่อเย็นจะเดือดที่ประมาณ 100 องศาเซลเซียส แต่ถ้าแรงดันในระบบเพิ่มขึ้นจุดเดือดของน้ำก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเมื่อจุดเดือดเพิ่มขึ้นโดยแรงดันที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ระบบหล่อเย็นสามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่า 100องศาเซลเซียสได้โดยที่น้ำยังไม่เดือด
สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นก็คืออุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่สูงขึ้นจะทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นกับอากาศภายนอกมีมากขึ้นด้วย นี่คือหลักการที่ทำให้ระบบหล่อเย็นทำงาน กล่าวคือน้ำหล่อเย็นที่ร้อนกว่าจะทำให้การเคลื่อนที่ของความร้อนในน้ำหล่อเย็นไปยังหม้อน้ำเพื่อให้ลมภายนอกช่วยลดอุณหภูมิเป็นไปได้เร็วขึ้นด้วย ดังนั้นระบบหล่อเย็นภายใต้แรงดันจะนำพาความร้อนออกจากเครื่องยนต์ได้เร็วขึ้นซึ่งจะทำให้ระบบหล่อเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ถ้าระบบหล่อเย็นของคุณมีแรงดันในระบบมากเกินไปเจ้าฝาหม้อน้ำอาจจะระเบิดออกมาได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้มันระเบิด ตัวฝาหม้อน้ำเองต้องมีวาวล์อากาศซึ่งคอยปล่อยอากาศออกมาเมื่อแรงดันเกินกว่าที่กำหนด (มาถึงตอนนี้แล้วคงจะนึกกันออกว่าทำไมหม้อหุงข้าวหรือหม้อต้มแรงดันในห้องครัวของคุณถึงได้มีรูเล็กๆ หรือไม่ก็วาวล์ปล่อยแรงดัน)
เจ้าวาวล์ตัวนี้จะประกอบด้วยฝา ยางที่ทำหน้าที่เป็นซีล และสปริงที่ทำหน้าที่ดีดตัวซีลยางกลับลงไปในคอหม้อน้ำ เมื่อตอนที่ฝาหม้อน้ำถูกปิดลงบนหม้อน้ำจะทำให้ยางซีลปิดรูระบายเล็กๆที่อยูด้านข้างคอหม้อน้ำ (รูนี้จะมีท่อยางต่อไปยังหม้อพักน้ำ) ถ้าเกิดแรงดันในระบบมีมากเกินกำหนด แรงดันจะยกตัวซีลยางขึ้นทำให้น้ำหล่อเย็นกับอากาศที่อยู่ในระบบถูกแรงดันในระบบดันให้ใหลสู่หม้อพักน้ำ และเมื่อแรงดันกลับสู่ปรกติแล้วตัวยางซีลวาวล์จะถูกสปริงดันกลับไปปิดรูระบาย สำหรับระบบในรถเบนซ์ที่มีฝาหม้อน้ำอยู่บนหม้อพักแทนที่จะอยู่บนหม้อน้ำนั้นก็มีการทำงานที่เหมือนกันกับที่กล่าวมาข้างต้น
เพราะฉะนั้นไม่ควรมองข้ามฝาหม้อน้ำโดยเด็ดขาด ควรตรวจเช็คสภาพฝาหม้อน้ำโดยการให้ช่างทำ Pressurizing Test หรือทำการสำรวจด้วยตัวเองโดยดูจากสภาพของการดีดตัวของสปริงว่าปรกติหรือไม่ และดูว่าซีลยางมีรอยฉีกขาดหรือแข็งตัวหรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจากนังสือ Xo autosport เล่ม 148
และ ข้อมูลจากเว็บ 4X4